วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มารู้จักสาหร่ายกัน


                          #มารู้จักสาหร่ายกันมั้ย ! #rcicth
สาหร่ายไฟ...
มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น สาหร่ายร้อน หรือสาหร่ายเหม็น อันเนื่องมาจากกลิ่นเฉพาะตัวของมัน บางครั้งสาหร่ายชนิดนี้เกิดขึ้นในแหล่งน้ำ หรือบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความเค็มค่อนข้างต่ำ (ประมาณ 3-5 ส่วนในพันส่วน) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดทางภาคใต้ของไทย เช่น จังหวัดสงขลา มักจะกำจัดสาหร่ายชนิดนี้ออกจากบ่อ เนื่องจากเชื่อว่ากุ้งสามารถกินสาหร่ายชนิดนี้ได้ และจะทำให้เปลือกมีสีเขียวซึ่งผิดแปลกไปจากสีปกติ และส่งผลให้ราคาของกุ้งตกต่ำลง
สาหร่ายพุงชะโด...
นิยมนำมาปลูกประดับตู้ปลา โดยปลูกบริเวณหลังตู้ หรือปลูกในอ่างนํ้า นอกจากนี้ ยังใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาได้ เป็นพรรณไม้น้ำที่มีราคาถูก หาได้ทั่วไปตามท้องตลาด ลักษณะ จัดเป็นพืชมีดอก ใบเลี้ยงคู่ พบแพร่กระจายทั่วโลก มักขึ้นอยู่ในหนองบึง นาข้าว จัดเป็นพืชนํ้าจืดที่มีอายุหลายฤดู มีการเจริญเติบโตอยู่ใต้นํ้าส่งปลายยอดขึ้นมาที่ผิวนํ้า ลำต้นผอมเป็นสายกลมยาว แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีราก ลอยเป็นอิสระอยู่ใต้ผิวนํ้า มีใบเรียงรอบข้อเป็นชั้น จำนวนข้อละ 7-12 ใบ ใบมีลักษณะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นด้าย สีเขียวสด ขอบใบจักแบบฟันเลื่อย ปลายใบแตกเป็นซ่อม 1-2 ชั้น ทำให้เห็นตรงปลายมี 2-4 แฉก ขนาดใบยาว 1.5-4 เซนติเมตร หากได้รับแสงสว่างและแร่ธาตุเพียงพอ ส่วนยอดจะมีสีชมพูสวยงาม ดอกมีขนาดเล็กสีขาวจนถึงออกเขียว เกิดอยูที่โคนซอกใบเป็นดอกเดี่ยวแบบแยกเพศแต่เกิดบนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ไม่มีก้านดอก ประกอบด้วยเกสรตัวผู้จำนวน 8-24 อัน อับเกสร สีขาวมี 2 ห้อง ดอกเพศเมียมีขนาดเล็ก รังไข่ไม่มีก้านอยู่เหนือส่วนอื่นของดอก มี 1 ห้อง ออวุล 1 เม็ด ผลเป็นชนิดอะซีน รูปไข่มีขนาดเล็กสีดำ ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร มีหนามแหลมที่ปลายบน 1 อัน และที่ฐานอีก 2 อัน
สาหร่ายหางกระรอก...
พืชใต้น้ำ ต้นเป็นสายเรียวยาว ใบเป็นใบเดี่ยวออกรอบข้อ 3-8 ใบ รูปแถบแกมหอกหรือรูปไข่ กว้าง 1.5 ม. ยาว 8-40 มม. ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอก ขนาดเล็กแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกตามซอกใบ มีใบประดับหุ้ม กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียมีใบประดับหุ้มที่โคนก้าน กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ ยอดเกสรเพศเมีย 3 อัน ผลขนาดเล็กรูปคล้ายทรงกระบอก
สาหร่ายฉัตร...
เป็นพืชใต้น้ำที่มีรากหยั่งดิน ชอบขึ้นในแหล่งน้ำนิ่งทั่วไป หรือในนาข้าว ลำต้นเป็นก้านยาวแตกเป็นพุ่มอยู่ใต้น้ำ ตามข้อแก่ ๆ มักมีรากแตกออกมา ใบใต้น้ำเรียงเป็นวงรอบ ข้อ ๆ หนึ่งมี 6-9 ใบ ปลายใบแตกเป็นฝอย ใบเหนือน้ำเป็นรูปยาวรีปลายแหลม ขอบใบจักแบบฟันเลื่อย แตกใบตรงกันเป็นคู่ ๆ ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาวขนาดเล็ก มีกลีบดอก 5 กลีบ ออกตรงมุมโคนใบเหนือน้ำ โคนกลีบติดกันเป็นหลอด

ว่าด้วยสาย P = Procambarus 19 ชนิด #rcicth





                               
                                  ว่าด้วยสาย P = Procambarus 19 ชนิด #rcicth
ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกว่า สาย P เครย์ฟิชสายนี้ในบ้านเราจะนำเข้ามาจากประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นผู้ส่งเครย์ฟิชหลักเข้ามาในบ้านเรา และ Procambarus clarkii ซึ่งเป็นที่นิยมในบ้านเราเป็นอย่างมาก และในบ้านเราสามารถเพราะเองได้แล้วในบางสายพันธุ์ เช่นโกสต์ ,เคลียร์ ซึ่งกำลังเป็นกรแสแรงมากในขณะนี้ (ปี 2016)
Procambarus clarkii ราคาสามารถจับต้องได้ ปัจจุบัน มีราคาตั้งแต่หลักสิบ ถึง 6 -7 พันบาท ขึ้นกับผลผลิตในท้องตลาด ,ขนาด ,และลวดลาย..
1. Procambarus allenii (Florida Lobster)
ก่อนหน้านี้ allenii ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่เนื่องด้วยตามท้องตลาดมีผลผลิตออกมาเยอะ จึงทำให้ความนิยม ลดลง แต่ก็ยังถือได้ว่าเป็นเครย์ฟิชที่มีความสวยงามอยู่ในตัว และสีที่สวยงามไม่แพ้สายพันธุ์อื่นเช่นกัน
มีถิ่นกำเนิด ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่รัฐฟลอริดา ที่พบตามแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีสีน้ำตาล และในบางครั้งพบจุดสีเข้มด้านบนของลำตัว และมีจุดจางๆในส่วนล่าง มีหนามบนก้ามจุดออกสีเหลือง มีก้ามออกสีฟ้า ในบ้านเราถ้าเลี้ยงในตู้จะมีสีสันที่สวยคือ จะออกเป็นสีฟ้าทั้งตัวได้อย่างสวยงาม
มีขนาดเมื่อโตเต็มวัยเพศผู้มีขนาด 2.3" และขนาด 2.75" ในเพศเมีย อาศัยในแหล่งที่มีที่ค่า ph ที่แตกต่างกันได้ดี สามารถทนต่อสภาพน้ำ และปรับตัวได้เป็นอย่างดี พบได้ยากตามแหล่งน้ำธรรมชาติ และสามารถผสมพันธุ์ได้ง่าย มีอุปนิสัย เป็นสัตว์ที่กินไม่เลือก และกินพืชในตู้เลี้ยง ควรมีสถานะที่ในการเลี้ยงที่เพียงพอ ตามแหล่งน้ำธรรมจะเป็นสีน้ำตาล และจะเริ่มมีสีน้ำเงินอ่อนๆ ในลูกรุ่น F1 อาศัยในอุณหภูมิที่ 20- 27 C และจะขุดรูเมื่อระดับน้ำลดลง จำนวนของไข่ที่ได้ประมาณ 100- 150 ฟอง ขึ้นกับขนาดของตัวเมีย และสามารถให้ไข่ได้ถึง 300 ฟองในเพศเมียที่โตเต็มวัย
2. Procambarus acanthophorus
มีถื่นกำเนิด ประเทศเม็กซิโก ขนาดเมื่อโตเต็มวัย มีขนาดประมาณ 10cm และกุ้งชนิดนี้จะมีขนที่ก้าม เครย์ฟิช 1 คู่ ควรเลี้ยงด้วยตู้ที่มีขนาดตั้งแต่ 24 นิ้วขึ้นไป ควรหาที่หลบซ่อน ให้กุ้งเครย์ฟิช เพื่อช่วยเป็นที่หลบซ่อนในขณะที่ ลอกคราบ และสายพันธุ์นี้ไม่ทนต่อสภาพน้ำที่สกปรกสักเท่าไหร่ มีอุปนิสัย เช่นเดียวกับ Procambarus allenii การดูเพศตามปกติ (ตัวเมียจะมีก้ามยาวกว่า มีหางที่กว้าง ,และจะมี จีโนพอตส์ ที่ตัวผู้) และ พบได้ยาก ตามแหล่งธรรมชาติ
3. Procambarus clarkii
Clarkii สามารถพบได้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เม็กซิโก และยังได้มีการนำไปเลี้ยงที่ฮาวาย และประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ซึ่งหลายๆครั้ง clarkii ตัวที่มีสีแดง ในบ้านเราจะเรียกว่า "เรดเจแปน" เครย์ฟิชย์สายพันธุ์นี้ถือได้ว่าเป็นกุ้งสายพี ที่มีการเลี้ยงเยอะมากที่สุดในไทย
เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อสภาพน้ำ อากาศ อุณหภูมิในบ้านเราได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็มีขายตามท้องตลาดทั่วไปในบ้านเราเรียกว่า "กุ้งสี" หรือ "กุ้งสายพี" ซึ่งมีทั้งสีฟ้า จะเรียกว่า บลูสพ็อต สีขาวเรียกว่า สไนว์ สีส้ม เรียกว่า ไบร์สออเร้นท์ เรียกไปตามสี ซึ่งในแต่ละสีสามารถผสมพันธุ์กันได้ ซึ่งก็จะให้สีที่แตกต่างกันออกไป ในบางครั้งอาจมีสี ส้มอ่อนๆ เรียกว่า สีพรีช แต่สีนี้หาได้ยาก สายพันธุ์นี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่จะเริ่ม เนื่องจากเลี้ยงง่าย ราคาไม่แพงมีขายตามท้องตลาดในราคาหลักสิบ
4. Procambarus clarkii Ghost
ลักษณะ อุปนิสัย ทางพันธุกรรม เหมือน clarkii ทั่วไป แต่มีสีที่แตกต่างและสวยกว่าสายพีธรรมดา clarkii Ghost เป็นเครย์ฟิชที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการ บรีดดิ่ง จนให้สีนิ่ง โดยมนุษย์เรานี่แหละ สายพันธุ์นี้ได้นำเข้าจากประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มาแรงที่สุดในช่วงนี้ (ต้นปี 2016) บางคู่สีสวยๆรายสวยๆ ก้ามโตๆ มีราคาตั้งแต่คู่ละ 3-4 พันไปจนถึงหลักหมื่นกันเลยทีเดียว ลูกลงเดินราคากลางๆ อยู่ราวๆ 7-8 ร้อยบาทในตอนนี้
5. Procambarus Clarkii Clear
Clarkii Clear ก็เกิดจากการบรีดดิ่ง เช่นเดียวกับโกสต์ เช่นกัน ซึ่งก็นำเข้าจากประเทศฮ่องกง และก็เป็นกระแส ที่แรงไม่แพ้โกสต์ เช่นกัน สองสายพันธุ์นี้ ถือได้ว่ามีกระแส แรงคู่มากันในขณะนี้เลยทีเดียว แต่ในเคลียร์นั้นจะมีผลผลิต ได้น้อยกว่าโกสต์ ในเวลานี้ ลักษณะเด่นๆ ของเคลียร์เลยก็คือ จะมีแก้ม ,ลำตัว และหางจะมีสีอ่อน ออกไปทางสีขาว (ขาและหนวดสีจะอ่อนเหมือนสีของลำตัว)
6. Procambarus Clarkii Orange Ghost (โกสต์ส้ม)
สายพันธุ์นี้ก็ไม่มีในธรรมชาติ และก็ไม่ได้นำเข้ามาแต่อย่างใด หากแต่ด้วยความสามารถของคนไทย ซึ่งนำ Clarkii Ghost มาผสม จนได้ลักษณะของโกสต์ ที่มีสีส้ม บนลำตัว ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง ที่สามารถทำให้มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นในบ้านเรา จนประเทศอย่างฮ่องกงที่เป็นผู้ส่งเครย์ฟิช เข้ามาขายในไทย ยังต้องนำ โกสต์ส้ม ที่เกิดจากฝีมือคนไทย ไปขายในประเทศตนเช่นกัน แต่เนื่องด้วยกระแสโกสต์ในขณะนี้มาแรง จนทำให้กระแสของโกสส้ม ถดถ่อยลง เป็นอย่างมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม โกสส้ม ยังคงมีความสวยงาม อยู่ในตัว ที่หาไม่ได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่นกัน
7. Procambarus Clarkii Red (Red swamp ,Red japan)
เครยฟิชสายพันธุ์นี้ในบ้านเราเรียกว่า "เรดเจแปน" มีสีแดงเข้ม ได้นำเข้ามาเลี้ยงในไทยได้นานมากแล้ว ซึ่งก็มีขายทั่วไปตามท้องตลาด ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเนื่องจาก ผสมพันธุ์ และเลี้ยงง่าย
กุ้งแดง หรือ กุ้งญี่ปุ่น (อังกฤษ: Red swamp crawfish ,Louisiana crayfish) เป็นกุ้งน้ำจืดจำพวกเครย์ฟิชชนิดหนึ่ง มีรูปร่างบึกบึน ก้ามใหญ่โตแข็งแรง มีหนามเป็นตุ่มทั้งที่ก้ามทั้ง 2 ข้าง และบริเวณส่วนหัว มีขนาดยาวเต็มที่ได้ถึง 5.5–12 เซนติเมตร (2.2–4.7 นิ้ว) น้ำหนัก 50 กรัม เป็นกุ้งน้ำจืดที่กระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ของรัฐลุยเซียนา ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา
มีสีดั้งเดิมเป็นสีแดงเข้มทั้งตัว ใต้ท้องจะเป็นสีเหลืองอ่อน เดิมใช้เป็นกุ้งเพื่อการบริโภคในท้องถิ่น และได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปในหลายพื้นที่ รวมถึงนอกสหรัฐอเมริกา จนกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในฐานะที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เช่น ประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในตู้ปลา ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปีแล้ว โดยการขยายพันธุ์ทำได้ง่าย กุ้งจะเริ่มผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่มีขนาด 2 นิ้วขึ้นไป แต่ละครั้งจะวางไข่ได้ 300 ฟอง โดยตัวเมียจะใช้เวลาฟักไข่จนออกเป็นตัวประมาณ 30 วัน ลูกกุ้งวัยอ่อนมีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งในปัจจุบันได้มีการกลายพันธุ์ออกเป็นกุ้งสีสันต่าง ๆ สวยงามกว่าสีดั้งเดิมในธรรมชาติ เช่น สีฟ้า, สีส้มสด, สีขาวปลอด โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันออกไปในเชิงการค้า
8. Procambarus Clarkii Orange (Bright Orange)
เครย์ฟิชชนิดนี้ ไบรส์ ออเร้นท์ ก็จะมีสีที่แตกต่างกันกับ เรดเจแปน คือ มีสีส้มเข้ม สว่าง สายพันธุ์ไหนสวยกว่ากัน ก็แล้วแต่คนชอบครับ
9. Procambarus Clarkii White (Snow)
เครย์ฟิชสีขาว หรือในบ้านเราเรียกว่า สไนว์ ก็เป็นอีกสายพันธุ์ที่ได้นำเข้ามาเลี้ยงในไทย นานพอสมควรเช่นกัน ลำตัวจะมีสีขาว บ้างก็สีขาวนวล ในปัจจุบัน เครย์ฟิชสีที่ได้กล่าวมานั้น(Snow , Red japan ,Bright Orange) ก็สามารถผสมข้ามสีกันได้ เนื่องจากอยู่ในตระกูล Clarkii เหมือนกัน จะเห็นได้ว่า ตามท้องตลาดทั่วไปจะมีขายกันหลากหลายสีรวมกัน ในบางตัวก็อาจมีลักษณะสีที่ต่างจากสีที่กล่าวมานี้ เนื่องมาจากการผสมข้ามสีกัน จนทำให้เกิดสีใหม่นั่นเอง
10. Procambarus cubensis
มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศ คิวบา เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดประมาณ 10cm เป็นเครย์ฟิชชนิดแรกที่นำมาเลี้ยงในตู้เลี้ยงสวยงามที่ประเทศเยรมัน ตะวันออก ในปี ค.ศ. 1980 เครย์ฟิช 1 คู่ ควรเลี้ยงด้วยตู้ที่มีขนาดตั้งแต่ 24 หรือ 36 นิ้วขึ้นไป มีนิสัยที่ก้าวร้าว กินทุกอย่างที่มันคิดว่ากินได้ และถ้ามีพื้นที่ไม่เพียงพอจะกินกันเองในระหว่างที่ลอกคราบ สามารถทนต่อสภาพน้ำ และปรับตัวได้เป็นอย่างดี และเริ่มพบได้ยากตามแหล่งน้ำธรรมชาติ (ตัวเมียจะมีก้ามยาวกว่า มีหางที่กว้าง , และจะมี จีโนพอตส์ ที่ตัวผู้)
11. Procambarus enoplosternum
มีถื่นกำเนิดที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 7cm ควรเลี้ยงด้วยตู้ที่มีขนาดตั้งแต่ 24 หรือ 36 นิ้วขึ้นไป อาศัยในแหล่งน้ำที่มีที่ค่า ph ที่พิสัยกว้างได้ สายพันธุ์นี้พบในแหล่งน้ำที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีค่า PH ตั้งแต่ 7 ขึ้นไป อย่างไรก็ตามสายพันธุ์นี้จะไม่ค่อยทนสภาพน้ำที่สกปรก สักเท่าไหร่ใช้เนื้อที่ในการหากินไม่มากนัก สายพันธุ์นี้ยังมีการถูกรุกรานไม่มากนัก และสามารถกระจายพันธุ์ได้มากกว่า allenii clarkii และ acutus เป็นกุ้งที่สามารถผสมพันธุ์ได้ไว ขนาดที่เคยพบในเพศเมีย สามารถผสมพันธุ์ได้ในขนาดเพียง 4 cm แต่ให้ไข่เพียงแค่ 10 ฟอง และจะสามารถให้ไข่ได้เพิ่มมากขึ้นตามขนาดของเพศเมีย มากสุดราวๆประมาณ 80 ฟอง
12. Procambarus fallax (Marble Crayfish, Marmor Krebse)
ถิ่นกำเนิดอาศัยในแม่น้ำ สติลน่า ในประเทศจอร์เจีย และฟลอริด้า แต่พบครั้งแรกที่ตลาดซื้อขายปลาที่เยรมัน และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า "มาโมเครบส์" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 8cm ซึ่ง มาโมเครบส์ นี้เป็นกุ้งที่สามารถขยายพันธุ์เอง โดยที่ไม่ต้องอาศัยตัวผู้ จะใช้วิธีโคลนนิ่งตัวเอง คือไข่เองโดยที่ไม่ต้องมีตัวผู้ เลี้ยงได้ง่ายแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ราคาในท้องตลาดไม่สูงมากนัก อาศัยในแหล่งน้ำที่มีที่ค่า pH ที่แตกต่างได้ในระดับหนึ่ง สามารถทนต่อสภาพน้ำ และปรับตัวได้ค่อนข้างดี แล้วสามารถผสมพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยงได้ไม่ยากนัก เป็นสัตว์ที่กินได้ไม่เลือก
13. Procambarus pubescens(BRUSHNOSE CRAYFISH)
สายพันธุ์นี้มีสีดำ น้ำตาลบนเปลือกหลัง และมีจุดเป็นสีครีม และมีแถบสีอ่อนบนลำตัว หน้าท้องมีสีน้ำตาลแดง และก้ามที่มีสำน้ำตาลเข้ม ขนาดเมื่อโตเต็มวัยอยู่ที่ 3.2 นิ้ว สามารถกินทั้งพืชและสัตว์ เช่น ตัวอ่อนแมลง ปลาดขนาดเล็ก ซากสัตว์
ถิ่นอาศัย: พบได้ในแม่น้ำ โอคอนนี ในรัฐจอร์เจีย และทางตอนใต้ของ โคโรไลน่า
การผสมพันธุ์ วัยที่สามารถผสมพันธุ์ได้ โดยเพศผู้จะมีขนาด 1.8 นิ้ว และเพศเมียมีขนาด 2 นิ้ว ใช้เวลาในการฟักไข่เป็นตัว 30 วัน สายพันธุ์นี้ถือว่ารับได้การอนุรักษ์ในประทศ จอรเจียร์
14. Procambarus spiculifer(WHITE TUBERCLED CRAYFISH)
เครย์ฟิชชนิดนี้สามรถพบได้ในแม่น้ำวานนาห์ ในตอนใต้ของแคโรไลนา เป็นสายพันธุ์ที่ค้นพบมากที่สุดในประเทศจอร์เจีย ลักษณะโดยรวมจะมีสีน้ำตาล สีฟ้า และจะมีมาร์คสีดำ และมีก้ามสีเข้ม ในตัวผู้จะมีก้ามที่โตกว่าเพศเมีย มีจุดสีแดง หรือม่วงตามขอบของลำตัว Tubercled Crayfish
ขนาด ..มีขนาดได้มากกว่า 4 นิ้ว
แหล่งอาศัย ..มักอาศัยตามโขดหินใต้พื้นน้ำ สามารถกินได้ทุกอย่าง ตัวอ่อนแมลง สัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมถึงปลาตัวเล็กๆด้วย
จำนวนไข่.. จำนวนไข่ของเพศเมียนั้นประมาณ 22 ถึง 363 ฟอง สามารถปรับตัวได้กับค่า pH ที่แตกต่างกันได้ดี
อุปนิสัย..สายพันธุ์นี้จะไม่ทนต่อสภาพน้ำคุณภาพต่ำ มีพฤติกรรมที่ขี้อาย ค่อนข้างรักความสงบ
อายุ.. จะโตเต็มวัยได้เมื่ออายุ 1 ปีและอาจมีอายุได้ถึง 3 ปี
15. Procambarus toltecae
สายพันธุ์นี้เป็นเครย์ฟิชที่มีสีสวยจัดจ้าน ตามธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากเครย์ฟิชสายพันธุ์อื่นที่ในหลายๆ ครั้งจะต้องนำมาเลี้ยงในตู้ให้อาหารจึงจะสีที่สวยงาม ไม่ทนต่อน้ำที่มีค่า pH ที่สูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่ควรเลี้ยงในน้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 7 ไม่ค่อยทนต่อน้ำคุณภาพต่ำได้ดีเหมือนกัน alleni ,clarkii หรือ acutus เพศผู้จะมีก้ามยาวกว่าเพศเมีย และเพศเมียจะมีปลายหางที่แผ่กว้างกว่าเพศผู้ และในจะมีสีสันที่โดดเด่นในเพศผู้ พบได้ยากมากในแหล่งน้ำธรรมชาติ
ถิ่นกำเนิด... พบได้ในประเทศ เม็กซิโก
ขนาด...เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดประมาณ 3.2 นิ้ว
ปริมาณไข่.. ตัวเมียจะออกไข่ประมาณ 50 ฟองซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 mm ซึ่งไข่จะมีขนาดใหญ่กว่า clarkii เล็กน้อย จะฟักไข่เมื่อสัปดาห์ที่ 4 และลูกจะเริ่มมีสีสันเมื่อเข้าวัยเจริญพันธุ์
16. Procambarus vasquezae
มีถิ่นกำเนิดในประเทศ เม็กซิโก มีขนาดประมาณ 6 cm สายพันธุ์ที่รักสงบ นิสัยไม่ค่อยก้าวร้าว เป็นมิตรต่อไม้น้ำในตู้ ซึ่งไม่ค่อยทำลายไม้น้ำอย่างเช่นสายพันธุ์อื่น
การเลี้ยงดูควรดูแลเรื่องคุณภาพน้ำ สายพันธุ์นี้ต้องการคุณภาพน้ำที่ดีกว่าสายพันธุ์อื่น เพศผู้จะมีก้ามและ จีโนพอร์ต ที่ยาว และจะมีหางที่แผ่กว้างในเพศเมีย และมีไข่ขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว อาศัยในค่า pH ประมาณ 6.5- 8.5
17. Procambarus versutus
มีถิ่นกำเนิดในประเทศสหรัฐอเมริกา สายพันธุ์นี้ทนต่อสภาพน้ำได้ดี รักสงบมีนิสัยไม่ค่อยก้าวร้าว สามารถเลี้ยงรวมกันหลายตัวได้ แต่ต้องอยู่ในจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดของตู้ สามารถปลูกไม้น้ำในตู้ที่เลี้ยงได้ เพศผู้จะมีก้ามและจีโนพอร์ต ที่ยาว และจะมีหางที่แผ่กว้างในเพศเมีย หาพบได้ยากตามแหล่งน้ำธรรมชาติ การลอกคราบในแต่ละครั้งอาจมีสีน้ำตาล หรือสีฟ้า ตามแต่อาหารที่ได้รับ
ขนาด... เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดประมาณ 7cm
18. Procambarus milleri( Miami Cave Crayfish)
ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือมีสีตามลำตัวเป็นสีเหลือง ส้ม รวมถึงตัวอ่อนที่กำลังโตด้วยเช่นกัน จะแตกต่างจาก P. alleni ที่ตัวผู้นั้นจะมีก้ามที่ยาวกว่าก้ามของตัวเมีย ,P. milleri เพศผู้ และเพศเมียจะมีขนาดของก้ามเท่ากัน ในต่างประเทศเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากสีที่สวยเมื่อเลี้ยงไว้ในตู้ที่มีพื้นกรวดสีดำ และแสงนีออนส่อง แบบอ่อนๆ
ถิ่นกำเนิด..ไมอามี่ , ฟรอลิด้า
ขนาดเมื่อโตเต็มวัย.. มีขนาดประมาณ 3 นิ้ว
การเลี้ยงดู.. ควรเลี้ยงในน้ำที่มีค่าเป็นด่างอ่อนๆ เป็นสายพันธุ์ที่มีนิสัยไม่ค่อยก้าวร้าว ถึงแม้จะเลี้ยงรวมกันเป็นจำนวนมาก
อุณหภูมิ.. ระว่าง 20c - 30 c
การผสมพันธุ์.. สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และเพศเมียแรกเริ่มจะออกไข่ประมาณ 100 ฟอง(ขึ้นกับขนาดของเพศเมีย) ไข่จะมีลักษณะเป็นสีดำและมีขนาดใหญ่ เครย์ฟิชสายพันธุ์นี้สามารถเลี้ยงลูกรวมกับพ่อแม่ได้ แต่ไม่ควรเลี้ยงปลารวม เนื่องจากอาจจะกินลูกเครย์ฟิชเหล่านี้ได้
19. Procambarus (Seepage Crayfish)
สามารถพบเห็นได้ใน ลีออน ,คูล่า และรัฐฟลอริด้า สายพันธุ์นี้ยังคงไม่มีข้อมูลมากนัก และได้มีการอนุรักษ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ใบหูกวางกับกุ้งก้ามแดง

“ใบหูกวางกับกุ้ง”
ถามว่าจำเป็นไหม ตอบว่า มีก็ดี ใช้ก็ดี เพราะใบหูกวางมีสารเทนนิน มีประโยชน์ดังนี้
1. ช่วยในการยับยั้งแบคที่เรียที่จะก่อให้เกิดโรคกับกุ้ง
2. ช่วยในการป้องกันปรสิตที่จะมาเกาะที่ตัวกุ้ง
3. ช่วยในการลดความเครียดให้กับกุ้ง
4. ช่วยในการรักษาแผล สมานแผล
5. ช่วยในการเร่งสีให้สวยงาม
วิธีใช้ นำใบแก่ แห้ง ที่ไม่มีเชื้อรา ห้ามใช้ใบสด เพราะอาจจะมียาง เป็นพิษได้ นำมาต้มจนใบหูกวางจม แล้วเทน้ำทิ้ง แช่ไว้ในน้ำเปล่า 1 คืน จากนั้นก็เอาให้กุ้งกินได้เลย แต่อย่าลืมเอาก้านกลางออกด้วยนะครับ ส่วนนั้นมันแข็งกุ้งบ่กิน ใบหูกวาง จะเหมาะมากถ้าใส่ไว้ให้แม่ลูกอ่อนได้แทะเล่นช่วงตั้งท้อง




มารู้จักกลุ่มกุ้งสวยงามกันดีกว่า...ทั้งคนเลี้ยงมือใหม่และมือเก่า...อรุณสวัสดิ์ยามเช้าครับ















นานาสาระเรื่องกุ้งเครฟิช.. #rcicth

   
                         นานาสาระเรื่องกุ้งเครฟิช.. #rcicth

อาหารการกิน

Crayfish นั้นเป็น Omnivores คือสามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด แต่ในธรรมชาติมันจะกินอาหารประเภทพืชผัก รากไม้ ใบไม้ ผลไม้เป็นหลัก ในที่ เลี้ยงผู้เลี้ยงสามารถให้ ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลันเตา ฟักทอง แอปเปิ้ลได้ พรรณไม้น้ำที่ใช้ตกแต่งตู้อาจโดนรื้อทึ้งเป็นอาหารได้ เพราะฉะนั้นไม่สมควรใส่ลงไป เพราะเครฟิชอาจจะฉีกทำลายได้ ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศนั้นแนะนำให้ผู้เลี้ยงให้ ใบโอ๊ค (หรือชื่อไทยๆ ก็ใบหูกวางนี่แหละ)ตามโอกาส เพราะเชื่อว่าใบหูกวางสามารถป้องกันรักษาโรคตามธรรมชาติของเครฟิช

นอก จากอาหารผักแล้วอาจจะให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์ร่วมด้วยเช่น เนื้อ ไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อกุ้งทะเลหรือกุ้งฝอยหั่นชิ้นเล็กๆได้ ถ้าให้ง่ายยิ่งไปกว่านั้นอาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมสูตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสูตรปลาทอง ปลากินเนื้อ ปลาซักเกอร์หรือของปลาแพะทั้งหมดนั้น จะเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างสะดวกและก็ชอบกินด้วย

สรุปสั้นๆ ว่าจะให้อาหารประเภทไหน ไม่เรื่องมาก ใส่อะไรลงไปก็สามารถคีบกินได้ทั้งนั้น สำหรับความถี่ในการให้อาหารนั้นไม่ต้องให้บ่อย อาจจะให้อาหารเพียงแต่ชิ้นสองชิ้นสำหรับกุ้งหนึ่งตัว ทุกๆ 2-3 วันก็เพียงพอ ให้น้อยๆให้เครฟิชกินหมด ดีกว่าให้เยอะแล้วเศษอาหารตกค้าง น้ำจะเน่าเสียเปล่าประโยชน์ เพราะในธรรมชาตินั้นไม่กินอาหารทุกวัน สำหรับการให้อาหารนั้นควรจะให้เวลากลางคืน เพราะจะออกหากินในเวลากลางคืน และยังสามารถเรียนรู้ที่จะมาขออาหารจากผู้เลี้ยงได้อีกด้วย โดยจะมาอ้าแขนชูก้ามโตๆ รอเวลาอาหาร ผู้เลี้ยงสามารถฝึกป้อนอาหารด้วยมืออีกด้วย แต่ต้องใช้เวลาสร้างความคุ้นเคยสักนิด

ในกรณีคุณภาพน้ำเริ่มเน่าจาก เศษอาหารตกค้าง จะเริ่มแสดงอาการของโรคเปลือกขาว โดยคราบขาวๆจะเริ่มก่อตัวที่บริเวณส่วนหางและ กระจายไปครอบคลุมทั้งลำตัวและอาจตายได้ เพราะฉะนั้นควรรักษาคุณภาพน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ

การเพาะพันธุ์

ท่าน ผู้อ่านหลายๆ ท่านที่เลี้ยงอาจจะมีประสบการณ์เห็นลูกกุ้งตัวจิ๋วๆ ออกเดินเพ่นพ่านทั่วตู้กันมาแล้ว เพราะว่ากุ้งนี้สามารถ เพาะพันธุ์ได้อย่างไม่ยากนัก หลายๆครั้งที่มีโอกาสเดินผ่านร้านขายปลาแล้วเห็นเจ้าคู่ผัวตัวเมีย นัวเนียปฏิบัติการเฉพาะกิจต่อหน้าธารกำนัลในกระบะกันอย่างโจ่งแจ้งเลยที ทำการผสมพันธุ์ตลอดปี ผู้เลี้ยงสามารถขยายพันธุ์ในตู้เลี้ยงได้ง่ายๆ เพียงแค่ขอให้มั่นใจได้ว่าได้เลือกซื้อมาเป็นคู่เพศผู้ - เพศเมีย กระบวนการนั้นไม่ต้องพิธีรีตองอะไร เช่นเดียวกับการเพาะพันธุ์กุ้งแคระ แค่นำกุ้งเพศผู้ - เพศเมีย หรือพ่อแม่พันธุ์ปล่อยรวมกันก็พอ

วิธี จำแนกเพศได้แน่นอนที่สุดคือจับมันหงายท้องแล้วสังเกตอวัยวะสืบพันธุ์ที่ เรียกว่า gonopods ที่ช่วงขาเดิน โดยกุ้งตัวผู้มีอวัยวะคล้ายตะขอบริเวณขาเดินคู่ที่ 2 และ 3 ซึ่งตะขอนี้มันจะเอาไว้เกี่ยวเกาะตัวเมียตอนผสมพันธุ์ สังเกตที่บริเวณขาเดิน ถ้าเป็นเพศผู้จะมีอวัยะสืบพันธุ์ (papillae) บริเวณขาเดินคู่สุดท้าย(คู่ที่ 4) ส่วนตัวเมียจะมีอวัยะสืบพันธุ์ (annulus ventralis) เป็นแผ่นทรงวงรีสีขาวๆ ขนาดประมาณ1-2 มม. บริเวณขาเดินคู่ที่ 3 นอกจากนี้บริเวณขาว่ายน้ำคู่แรกและคู่ที่2ของตัวผู้จะถูกพัฒนาขึ้นเป็นแขน เล็กๆสองข้าง (petasma)มีไว้สำหรับส่งผ่านถุงน้ำเชื้อไปยังตัวเมีย

การ จำแนกเพศตัวผู้เมีย โดยการสังเกตจากแขนที่ไว้ส่งผ่านน้ำเชื้อ หรือ petasma สามารถใช้ได้กับCrayfishที่มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกาและ ยุโรปเท่านั้น ส่วนที่มีถิ่นกำเนิดในโซนออสเตรเลียจะไม่มีอวัยวะดังกล่าว จึงต้องใช้วิธีสังเกต gonopods บริเวณโคนขาเพียงอย่างเดียว

สรุป ถ้าท่านผู้อ่านต้องการเลือกซื้อ เป็นคู่เพศผู้ - เพศเมีย เพียงแค่จับกุ้งหงายท้อง ดูแค่ให้กุ้งทั้งสองตัวมีอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณโคนขาที่ แตกต่างกันก็พอ

การผสมพันธุ์จะเริ่มโดยตัวผู้จะเข้าประกบตัวเมียทางด้านหลัง และพลิกลำตัวเพศเมียให้หงายท้องแล้วตัวผู้จะเข้าประกบโดยใช้ตะขอพิเศษที่ขา เดินล็อคตัวเมียเอาไว้ในท่วงท่าท้องชนท้อง หันหัวไปในทิศทางเดียวกัน หลังจากนั้นตัวผู้จะส่งผ่านถุงน้ำเชื้อไปปะติดไว้บริเวณท้องของตัวเมีย กระบวนการที่กุ้งทั้ง สองตัวนอนกอดกันแน่นนี้จะยาวนานหลายนาทีอยู่ (พฤติกรรมการกอดผสมพันธุ์ ของ Procambarus จะยาวนานกว่า 10 นาที ในขณะที่cheraxจะกิน เวลาสั้นกว่าเพียงแค่ 1-2ินาทีเท่านั้น) หลังจากนั้นภารกิจของตัวผู้ก็สิ้นสุด ผู้เลี้ยงสามารถย้ายเจ้ากุ้งตัวเมียไปยังตู้อนุบาลเลยก็ได้ เพื่อเป็นการเตรียมที่อยู่สำหรับลูกกุ้งน้อยๆในอนาคต หลังจากนั้นตัวเมียจะคอยผลิตไข่ขึ้นมาไว้บริเวณขาว่ายน้ำเป็นกระจุกๆ มองคล้ายพวงองุ่น

หลังจากนั้นไม่นานเนื้อเยื่อบางๆ ที่หุ้มถุงน้ำเชื้อที่กุ้งตัวผู้ได้นำมาติดไว้จะสลายลงปล่อยเจ้าสเปิร์มไซส์ จิ๋วเพื่อให้ไข่ได้รับการปฏิสนธิ หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียจะหาที่หลบซ่อนนอนนิ่งไม่ยอมกินอะไร ระยะเวลาที่ตัวอ่อนใช้ในการพัฒนารูปร่างนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณอาหาร และคุณภาพน้ำด้วย แต่โดยเฉลี่ยไข่จะพัฒนาจนเป็นตัวอ่อนที่มีหน้าตาเหมือนโตเต็มวัยภาย ใน 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นลูกกุ้งจะถูกปล่อยให้ว่ายน้ำเป็นอิสระ ในการผสมพันธุ์ในแต่ละครั้งแม่กุ้งสามารถให้ลูกได้มากถึง 300 ตัวเลยทีเดียว ซึ่งพ่อแม่กุ้งนั้นค่อนข้างเป็นพ่อแม่ที่ดีโดยจะไม่มีพฤติกรรมกินลูกกุ้ง เป็นอาหาร แล้วตัวลูกกุ้งเองก็มักจะอาศัยไม่ไกลจากพ่อแม่ของมันนัก เพื่อที่จะคอยเก็บกินเศษอาหารที่เหลือจากพ่อแม่นั่นเอง

การอนุบาลตัวอ่อน

ตัว อ่อนของกุ้งจะมีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตรโดยจะกินเศษอาหารก้นตู้เป็นอาหาร หลัก ผู้เลี้ยงสามารถให้อาหารเสริมเช่น ไส้เดือนฝอย ไรทะเล หรืออาหารเนื้อสัตว์อย่าง เนื้อปลา เนื้อกุ้งฝอยสับละเอียด แต่ควรระวังเรื่องคุณภาพน้ำให้ดี อย่าปล่อยเศษอาหารเหลือทิ้งไว้จนเน่าเสีย ควรเปลี่ยนใหม่ทุกวัน แต่อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงควรจะให้อาหารให้เพียงพอ เพราะตัวอ่อนจะมีพฤติกรรมกินกันเอง มันจะเล่นเกมส์ The survivor ผู้อ่อนแอต้องสละชีพในที่สุด ตู้อนุบาลตัวอ่อนก็ควรจะมีพื้นที่และวัสดุหลบซ่อน เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูตัวเต็มวัย ใส่ท่อพีวีซี หรือ รากไม้ ขอนไม้ กระถางต้นไม้ลงไปเยอะๆ เพื่อเป็นที่แอบซ่อน เพราะว่าในช่วงเดือนแรกของชีวิตลูกกุ้งทั้งหลาย จะทำการลอกคราบบ่อยมาก หมายความว่าทุกครั้งที่ลำตัวอ่อนนิ่มก็จะมีเปอร์เซ็นต์ถูกพี่ๆน้องๆกินเป็น อาหารมากขึ้น การคัดแยกขนาดลูกกุ้งหลังจากหนึ่งเดือนแรก จะเพิ่มอัตรารอดชีวิตของลุงกุ้งได้มากขึ้น เมื่อลูกกุ้งมีอายุได้ราวๆหนึ่งเดือน จะเริ่มแสดงสีสันสดใสเหมือนตัวโตเต็มวัย

การลอกคราบ

การ ลอกคราบนั้นถือเป็นกระบวนการสำคัญ ขั้นตอนหนึ่งในการเจริญเติบโตของเหล่าทั้งหลาย การลอกคราบนั้นแสดงถึงขนาดลำตัวที่เติบ ใหญ่มากขึ้น ลูกกุ้งจะทำการลอกคราบประมาณเดือนละครั้ง โดยระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะค่อยๆยาวนานขึ้นเมื่อกุ้งเติบโตขึ้น ยิ่งแก่ขึ้นก็ยิ่งลอกคราบน้อยลง โดยที่โตเต็มที่นั้นจะลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตได้ว่าช่วงที่กุ้งนั้นกำลังจะลอกคราบคือมันจะกิน อาหารน้อยลง สีสันของลำตัวเริ่มหมองคล้ำลง และจะหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อน และค่อนข้างอยู่นิ่งๆ เพราะว่าช่วงลอกคราบนั้นจะตัวนิ่ม และอ่อนแอมาก อาจถูกกุ้งตัวอื่นจับกินเป็นอาหารได้

กุ้งจะค่อยๆเซาะเปลือกชุดเก่าออกมาทางช่วงหาง และบริเวณจะโผล่ออกมาเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นจะกระดึ๊บๆถอยหลังไล่ไปเรื่อยจนถึงส่วนหัวซึ่งเป็นลำดับสุดท้าย โดยเปลือกชุดเก่ามักจะถูกกินโดยกุ้งตัวอื่น เพื่อเป็นแหล่งแคลเซียมสำหรับการลอกคราบครั้งต่อไป หลังจากที่สลัดชุดเกราะอันเก่าออกแล้ว กุ้งจะยังนอนตัวนิ่มอยู่ในที่ปลอดภัยประมาณอีก 2-3 วัน จนกว่าเปลือกจะแข็งเป็นปกติ

เปลือกแข็งขึ้นได้อย่างไร??? ก็ผ่านกระบวนการแข็งตัวของไคติน(chitin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเปลือกซึ่งได้มาจากการดูดซึมแคลเซียมคาร์บอเนต นั่นเอง โดยก้ามจะเป็นส่วนแรกที่แข็งตัว จากนั้นจึงเริ่มไปบริเวณลำตัว หลังที่สวมชุดเกราะชุดใหม่อย่างสมบูรณ์แล้ว จึงจะมีความมั่นใจเต็มเปี่ยม ออกมาเดินนวดนาดเผยโฉมออกหาอาหารกินตามเดิม

ไม่ว่าจะเป็นก้าม ขาเดิน หรือขาสำหรับว่ายน้ำที่อาจจะหลุดหักไปจากการต่อสู้หรือการขนย้าย จะซ่อมแซมตัวมันเอง โดยการสร้างขึ้นมาใหม่ได้ โดยผ่านกระบวนการลอกคราบ ในกรณีที่เป็นอวัยวะชิ้นใหญ่ๆอย่างก้ามหลุดขาดไป อาจจะต้องใช้เวลาลอกคราบถึง 2-3 ครั้ง ถึงจะสามารถสร้างก้ามใหม่ ที่มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิม ส่วนการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ อย่างขาหลุด ขาหักนั้น การลอกคราบเพียงครั้งเดียวก็สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้

เมื่อผู้เลี้ยง สังเกตเห็นว่ากุ้งกำลังลอกคราบ ไม่ควรจะไปทำการรบกวนมัน เพราะว่าอาจเป็นการทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบ ซึ่งเมื่อกุ้งตกใจจะทำให้กระบวนการลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ามักจะยังติดตาอยู่บริเวณก้าม ในขณะที่เปลือกชุดใหม่ก็เริ่มแข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น เปลือกสองชั้นนั้นซ้อนทับกันอยู่ จึงอาจจะทำให้ก้ามชุดใหม่มีการขึ้นผิดรูป เบี้ยวๆงอๆไปบ้าง ดังนั้นควรงดรบกวนกุ้งเวลาลอกคราบ เราควรเป็นผู้ชมที่ดี รอชมกุ้งในชุดเกราะชุดใหม่ทีเดียวเลย จะเข้าท่ากว่า

การเลี้ยงรวมกับกุ้งสายพันธ์ชนิดอื่นๆ

ผู้เลี้ยงไม่ควรเลี้ยงกุ้ง ที่มีถิ่นกำเนิดต่างกันไว้ด้วยกัน เพราะว่าจากประสบการณ์นั้น Procambarus ที่มาจากทวีปอเมริกานั้น ค่อนข้างมี อุปนิสัยก้าวร้าวมากกว่า (ทั้งระหว่างพวกเดียวกันเองและระหว่างญาติจากต่าง ทวีป) เมื่อนำ Procambarus มาเลี้ยงรวมกับ Cherax ที่มาจากทางทวีปออสเตรเลียแล้ว พบว่าญาติฝั่งออสเตรเลียที่มีนิสัยเรียบร้อยสงบเงียบกว่า มีโอกาสถูกระรานจับกินเป็นอาหารมากกว่า ในทางกลับกันการเลี้ยงกุ้งหลายชนิดในกลุ่มเดียวกันรวมกันหลายๆตัว ก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้มีการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ขึ้น เกิดเป็นกุ้ง Hybrid ที่มีสีสันแปลกใหม่ขึ้นมาได้ โดยในปัจจุบันก็มีกุ้ง Hybrid สีสันแปลกตาขึ้นมาหลายชนิดมาจำหน่ายมากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ควรจะเลี้ยงกุ้งที่มีขนาดเท่าๆกัน หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ไม่เช่นนั้นสุดท้ายแล้วจะเหลือกุ้งผู้ชนะครองตู้เพียงตัวเดียว เจ้าตัวเล็กๆทั้งหลายจะจบชีวิตด้วยการเป็นอาหารว่างมื้อหนึ่งเท่านั้น

การเลี้ยงรวมกับปลาสวยงาม

ถึง แม้ว่าในธรรมชาตินั้น กุ้งจะเก็บเศษซากพืชซากสัตว์กินเป็นอาหารหลัก แต่ในที่เลี้ยงสถานที่ที่มีอาหารอย่างจำกัดนั้น มันจะจับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กินเป็นอาหารได้ทุกเมื่อที่มีโอกาส เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านจึงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาสวยงามที่อาศัยอยู่ บริเวณก้นตู้ หรือปลาสวยงามที่ว่ายเนิบนาบเชื่องช้า เพราะปลาเหล่านี้อาจจบชีวิตในฐานะอาหารมื้ออร่อยของกุ้งทั้งหลายได้

ท่านผู้อ่านสามารถเลี้ยงกุ้งรวมกับปลาสวยงามขนาดกลาง ที่ว่ายน้ำบริเวณกลางน้ำหรือผิวน้ำได้เป็นอย่างดี และเน้นว่าต้องมีนิสัยไม่ดุร้าย ไม่เช่นนั้นอาจจะพบว่ากุ้งที่สามารถจับกินปลาตัวเล็กๆได้อยู่แหม่บๆนั้น ถูกรุมกินโต๊ะถูกกระชากไปทางซ้ายโดยเจ้าฟลาวเวอร์ฮอร์นก้ามหลุด ถูกทึ้งมาทางขวาโดยเจ้าเรดเทกซัสขาขาด เหลือแต่เปลือกจบชีวิตแบบที่ไม่ต่างไปจากกุ้งฝอย ที่เราๆใช้เป็นเหยื่อปลาทั่วไป

กุ้งจะอาศัยแต่บริเวณก้นตู้ จึงไม่สามารถขึ้นไประรานปลาสวยงามบริเวณกลางน้ำได้ นอกจากนี้ยังอาจทำหน้าที่เป็นพนักงานเทศบาล ช่วยเก็บเศษอาหารก้นตู้ได้เป็นอย่างดี โดยที่มาจากทวีปอเมริกาจะมีนิสัยชอบจับปลากินเป็นอาหารมากกว่า ญาติที่มาจากทางออสเตรเลีย

วิธีการเลือกซื้อกุ้ง..

1. ควรจะมีอวัยวะสำคัญต่างๆครบสมบูรณ์คือ ดวงตาและก้ามครบ 2 ข้าง ขาเดินครบทั้ง 5 คู่ เพราะการที่มีอวัยวะไม่ครบ แสดงถึงความสามารถในการหาอาหารและป้องกันตัวเองที่ลดน้อยลง อาจจะทำให้กุ้งอ่อนแอ ตกเป็นอาหารของตัวอื่นๆได้ง่าย

2. ควรจะมีเปลือกลำตัวแข็ง ไม่อยู่ในช่วงระยะลอกคราบที่ร่างกายค่อนข้างอ่อนแอ

3. กุ้งที่แข็งแรงควรมีการแสดงปฏิกิริยาป้องกันตัวเมื่อถูกรบกวน เช่น การยกก้ามคู่ป้องกันตัวเอง หลบหนีด้วยการดีดลำตัวอย่างว่องไวหรือ พยายามปีนป่ายหนี เมื่อนำมาใส่ภาชนะ

"เลี้ยงกุ้งไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ยากคือ คนเลี้ยงชอบสร้างวิมานให้กุ้งอยู่ ล้วนเป็นสิ่งไม่จำเป็นเลย..จำไว้คับ"